ถ้ามองอะไรไม่ชัด
ให้ลองถอยมาไกลๆ
แล้วค่อยเดินเข้าไปเรื่อยๆ
เราจะค่อยๆมองเห็น
ว่าจุดที่ชัดที่สุดอยู่ตรงไหน
เรื่องนี้ใช้ได้ทั้งในการดูงานศิลปะ
การรักษาระยะของความสัมพันธ์
และการแก้ปัญหา
บ่อยครั้งที่เรามองปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็ก
และให้ค่ากับปัญหาเล็กๆ ว่าใหญ่เท่าช้าง
ทำให้เราแก้ปัญหาผิดวิธีการ
หรือทำให้ปัญหามันขยายใหญ่โต
ถ้าเราลองมองปัญหาจากหลายๆมุม
หลายๆระยะ บางทีอาจจะพบว่ามันไม่ใช่ปัญหา
หรือปัญหานี้ไม่ยากหรอกที่จะจัดการ
ในความสัมพันธ์ก็เช่นกัน
คนบางคนก็อยู่ใกล้เราได้ในระดับหนึ่ง
เหมือนกับอะตอมของธาตุต่างๆ
ซึ่งมีขนาดของรัศมีจำเพาะ
ในการรวมตัวของอะตอมเกิดเป็นโมเลกุลของสารต่างๆ
จะมีระยะทางที่จำเพาะระหว่างอะตอม
หากไกลกันมากเกินไป
อะตอมสองอะตอมก็ไม่สามารถสร้างพันธะได้
แต่ถ้าใกล้กันเกินไป
ประจุบวกที่อยู่ตรงกลางก็จะผลักกัน
สองอะตอมนี้จะต้องมารวมตัวกัน
อยู่ในจุดที่พอดิบพอดี
ถึงจะเกิดเป็นโมเลกุลของสาร
เหมือนที่ไฮโดรเจร(ก๊าซ)มารวมตัวกับออกซิเจน(ก๊าซ)
แล้วเกิดเป็นน้ำ(ของเหลว)
บางทีการมองเห็นและเข้าใจอะไรสักอย่าง
คงไม่ใช่แค่การจ้องลงไปในสิ่งนั้นอย่างไม่ลดละ
แต่อาจจะเป็นการสังเกตไปรอบๆ
มองสิ่งนั้นในมุมต่างๆ
ทั้งจากทางไกลและใกล้
แล้วเราอาจจะเข้าใจธรรมชาติ
และมองเห็นความเป็นจริงได้ชัดเจนขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น